วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระดับของภาษา

ระดับของภาษา
            การสื่อสารของมนุษย์ นอกจากจะเข้าใจการใช้คำให้ตรงกับความต้องการแล้วยังจะต้องใช้คำเหมาะสมกับฐานะบุคคล โอกาส และกาลเทศะด้วย เช่น ในโอกาสงานพิธี ในที่ประชุม หรือในที่สาธารณะ สถานการณ์เหล่านี้ย่อมใช้ระดับภาษาที่แตกต่างกัน                จึงควรทำความเข้าใจในเรื่องระดับของภาษา  และใช้ภาษาระดับต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิผล
การแบ่งระดับภาษา
                การแบ่งระดับภาษาออกเป็นระดับต่างๆ นั้นอาจแบ่งได้หลายแนวทาง การแบ่งระดับภาษาไม่เป็นการตายตัว ภาษาแต่ละระดับอาจมีการเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกันบ้าง ในที่นี้จะแบ่งระดับภาษาออกเป็น 5 ระดับคือ
            ๑.  ภาษาระดับพิธีการ                                                                                             เป็นภาษาที่ใช้ในที่ประชุมที่จัดเป็นพิธีการ เช่น ในการเปิดประชุมสภา การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร การกล่าวเปิดงานและปิดงานพิธีการ เป็นต้นผู้ส่งสารระดับนี้ต้องเป็นบุคคลสำคัญ หรือมีตำแหน่งสูง  ผู้รับสารเป็นบุคคลในระดับเดียวกัน หรือกลุ่มขนส่วนใหญ่ หรือประชาชนทั้งประเทศเป็นผู้รับสารทุกคนมีลักษณะเป็นพิธีรีตองเป็นทางการ เลือกเฟ้นว่าไพเราะเหมาะสมจึงต้องเตรียมบทความนั้นมาอ่านต่อหน้าที่ประชุมข้อสังเกต มีดังนี้                                                                                                              
                        ๑.๑  เป็นภาษาที่ใช้สิ่งที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการเช่น การกล่าวปราศรัย การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวสดุดี การกล่าวรายงานพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร                                                                                                            
                        ๑.๒  ผู้ส่งสารต้องเป็นบุคคลสำคัญหรือตำแหน่งสูงในวงการ ส่วนผู้รับสารมักจะเป็นกลุ่มขน ส่วนใหญ่ผู้สงสารจะต้องเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียวไม่มีการโต้ตอบลักษณะสารจะเลือกเฟ้นถ้อยคำที่ไพเราะ
                        ๑.๓  เป็นคำศัพท์เป็นสารที่เป็นทางการเป็นสารที่ต้องเตรียมล่วงหน้าและมีการส่งสารด้วยการอ่าน ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ผู้เรียนสามารถดูตัวอย่างการใช้ภาษาระดับพิธีการ เช่น คำปราศรัยของฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เนื่องในสำคัญต่างๆ
          ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับพิธีการ
            -  บ้านเมืองไทยเรา ดำรงมั่นคงมาช้านาน เพราะคนไทยมีความ                                    พร้อมเพรียงอันเข้มแข็ง          
            -   การแสดงมุทิตาจิตและอวยพรให้แก่ข้าพเจ้าเป็นสมานฉันท์เพิ่ม                                ความปิติยินดีให้กับข้าพเจ้า
            -  กราบเรียน ฯ พณ ฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและ         รัฐบุรุษในนามของราชบัณฑิตยสถาน กระผมมีความปลาบปลื้มยินดี         เป็นอย่างยิ่งที่ท่านประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษได้กรุณามาเป็น                  ประธานในพิธีเปิดงานฉลองวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน

๒.  ภาษาระดับทางการ                                                                                                           เมื่อผ่านการประชุมเป็นพิธีการแล้ว การประชุมต่อมาใช้ภาษาระดับทางการ เช่นการบรรยาย หรือการอภิปรายในที่ประชุมหนังสือที่ใช้ติดต่อทางราชการหรือวงธุรกิจจะใช้ภาษาระดับนี้
ข้อสังเกตการใช้ภาษาระดับทางการ
                        ๒.๑  เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่ การรายงานทางวิชาการหนังสือราชการ หรือจดหมายที่ติดต่อในวงธุรกิจ คำนำหนังสือ ประกาศของทางราชการ
                                    ๒.๒  เป็นภาษาที่ใช้ตรงไปตรงมามุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ที่ต้องการโดยเร็วอาจมีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิชาการบ้าง แต่ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย เป็นภาษาที่มีแบบแผนในการใช้                                                    
                        ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับทางการ
            -  ภูมิแพ้อาหาร : ภัยเงียบที่ไม่ควรประมาท
            -  ปัจจุบันประเทศไทยเกิดปัญหา ทุจริตคดโกงจากนักการเมือง
                        -  ในอนาคตแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นและรุนแรงมากขึ้น เพราะแผ่นดินไหว                                 แต่ละครั้งมีผลกระทบต่อเปลือกโลก
            -  การประชุมวิชาการเรื่องโรคอ้วนครั้งนี้จัดขึ้น เนื่องจากโรคอ้วนเป็น             ปัญหาทางสุขภาพที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่
                        ๓.  ภาษาระดับกึ่งทางการ
                                    ภาษาระดับนี้คล้ายกับภาษาระดับทางการแต่ลดความเป็นการเป็นงาน           ลงบ้างเพื่อแสดงความใกล้ชิดระหว่างผู้สงสารกับผู้ใช้สารให้กระชับมั่น เช่น                                   การประชุมกลุ่ม  การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในห้องเรียนข่าว บทความจากหนังสือพิมพ์ ฯ ล ฯ
        ข้อสังเกตการใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ
                        ๓.๑  เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารที่คล้ายกับภาษาระดับทางการ แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง การใช้ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่มเล็ก การบรรยายในห้องเรียน  ข่าว และบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะมีถ้อยคำ สำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่า ภาษาระดับทางการ                                                                                                         ๓.๒  เนื้อของสารมักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทั่วไป หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับการดำเนินการ
            ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ
                        -  คนไทยขาดความมั่นใจและศรัทธาในความกล้าหาญของนายก
                        -  ไม่เคยแม้สักครั้งที่ไปถึงเมืองไหนแล้ว จะไม่ได้ออกไปชม                             บรรยากาศยามเช้าของเมืองนั้น
                        -  ต้องยอมรับว่าเป็นความฉลาดปราดเปรื่องของผู้จัดที่เลือกอุทยานน้ำตกแจ้ซ้อนเป็นที่ประชุม
                        -  กินของไทย ใช้ของไทย ร่วมใจกันประหยัด เป็นคำขวัญยอดนิยมในปีท่องเที่ยวไทย
๔. การใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
            เป็นภาษาที่ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนเพียง  ๕  คน ในสถานที่หรือกาละที่ไม่เป็นส่วนตัว เช่น การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าว และการเสนอบทความ
ข้อสังเกตการใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
                        ๔.๑  เป็นภาษาที่มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันของคนที่รู้จักมักคุ้นกันอยู่ในสถานที่และกาละที่ไม่เป็นการส่วนตัว
                        ๔.๒  เป็นภาษาที่ใช้อาจจะเป็นคำชี้แจงหรือเป็นคำที่เข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้นต้องไม่เป็นคำหยาบหรือคำไม่สุภาพ
ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
            -  เท่าที่พบการทำงานส่งครูของนักเรียน แย่มากจริงๆ
            -  นายยังไม่แทงเรื่องลงมา ให้ฉันตั้งแต่เมื่อวานนี้
            -  กวินเธอเป็นคนซื่อสัตย์ใครๆก็ปลื้มเธอในเรื่องนี้
            -  ความตั้งใจในการเดินทางของผมครั้งนี้ขึ้นอยู่ที่การหาเส้นทางซอกแซก
               ไปที่น้ำตกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
            -  จากกรณีที่หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เกจิดังแห่งวัดบ้านไร่ ได้อาพาธลงอย่างกะทันหัน มีอาการอ่อนเพลียอย่างหนักเนื่องจากต้องตรากตรำทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลและเคาะหัวให้กับบรรดาศิษยานุศิษย์ จนไม่มีเวลาพักผ่อน ( ภาษาสนทนาในข่าว ) 
            ๕.  ภาษาระดับกันเอง
                        เป็นภาษาที่ใช้กันในครอบครัว เพื่อนสนิท ซึ่งพูดจากันในเรื่องใดก็ได้   ใช้ในการพูดไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อาจเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มในท้องถิ่น  บุคคลที่ใช้ภาษาระดับนี้มีน้อย

ข้อสังเกตการใช้ภาษาระดับกันเอง
            ๕.๑  อาจมีคำคะนองสื่อความหมายตามความนิยม ในกลุ่มบุคคลซึ่งจะได้รับความนิยมเพียงชั่วครู่   เช่น
          -  ชอบทำตัวเป็นสาวไดอยู่เรื่อย ( ได หมายถึง ไดโนเสาร์คือโบราณ )
             -  ชอบทำอะไรเฟอะฟะอยู่เรื่อย ( เฟอะฟะ หมายถึง แสดงกริยาไม่น่าดู )                      
         ๕.๒  จะมีคำขานรับและคำลงท้าย ได้แก่ คะ ครับ ซินะ เถอะ รวมทั้งออกเสียงคำบางคำตามภาษาปาก เช่น ยังงี้ ยังงั้น                                                                                              
         ๕.๓  นิยมใช้คำอุทานเสริมบทในการพูดด้วย เช่น 
กินหยูกกินยา                   
อาบน้ำอาบท่า    
เสื้อผ้งเสื้อผ้า                                                                                                  
ในการใช้ภาษาระดับกันเอง แม้เป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการก็ตาม ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงความเหมาะสม  ดังที่พระยาอุปกิตศิลปสารได้กล่าวไว้เกี่ยวกับคำสุภาพว่า 
ไม่ใช้คำกระด้าง แสดงความไม่เคารพ เช่น อุทานว่า   หือ อือ เออ โวย เป็นต้น                               
ไม่ใช้การพูดกระชากเสียงห้วน  เช่น เปล่า ไม่รู้ ไม่มี ไม่ใช่                                      
-  ไม่ใช้คำหยาบ ได้แก่คำว่า ไอ้ อี อือ ขี้ เยี่ยว หรือกล่าวคำด่าคำด่ารวมทั้งคำพูดคำผวนที่สื่อความหมายโดยนับเกี่ยวกับเรื่องเพศ เป็นต้น            
ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับกันเอง                                                                                             
-  นายกินเหล้านานหรือยังเสียสุขภาพจริง                                                                      
-  ผู้หญิงที่ปล่อยให้พุงพลุ้ยเป็นพะโล้อย่างนี้  นอกจากจะดูไม่ได้แล้วยังจะตายไวเสียด้วย                                                                                                  
-  เย็นนี้รีบกลับมากินแกงสายบัวพริกสดกับกุ้งนะลูก
ปัจจัยที่กำหนดระดับภาษา
            ๑.  โอกาสและสถานที่ ปัจจัยที่ทำให้ใช้ภาษาต่างระดับกันอยู่ที่โอกาสและสถานที่ ถ้าสื่อสารกับบุคคลกลุ่มใหญ่ในที่ประชุมก็จะใช้ภาษาระดับหนึ่ง ถ้าพูดกัน              ในตลาดร้านค้าภาษาก็ต่างระดับกันออกไป                                                                              
            ๒. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล บุคคลมีสัมพันธภาพ หลายลักษณะ เช่น บุคคลที่ไม่เคยรู้จัก บุคคลที่เพิ่งรู้จัก บุคคลที่เป็นเพื่อนสนิท นี่ก็เป็นปัจจัยให้ใช้ภาษาต่างระดับกัน แต่อย่างไรก็ตามต้องยึดหลักพิจารณาโอกาสและสถานที่ด้วย                                     
            ๓.  ลักษณะของเนื้อหา เนื้อหาย่อมขึ้นอยู่กับโอกาสไม่น้อย เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว ก็ไม่น่าไปใช้กับภาษาระดับพิธีการหรือทางการ                                                          
            ๔.  สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร สื่อที่ใช้ก็ทำให้ภาษาเปลี่ยนระดับได้ เช่น จดหมายปิดผนึกกับไปรษณียบัตร ระดับภาษาที่ไม่ต้องตรงกัน เมื่อพูดด้วยปากกับพูดด้วยเครื่องขยายเสียงหรือพูดทางวิทยุ ทางโทรทัศน์ ระดับภาษาที่ใช้ย่อมแตกต่างกัน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการแบ่งระดับภาษา
               ๑.  การแบ่งระดับภาษาไม่เป็นการตายตัว ภาษาแต่ละระดับอาจมีการเหลื่อมล้ำคาบเกี่ยวกันบ้าง เช่น ภาษาระดับทางการภาษาระดับกึ่งทางการ หรือภาษาระดับกึ่งทางการกับภาษาระดับไม่เป็นทางการ หรือภาษาระดับไม่เป็นทางการระดับกันเอง               
               ๒.  ภาษาทั้ง ๕ ระดับ ไม่มีโอกาสใช้พร้อมกัน  ระดับภาษาที่ใช้มาก คือภาษา             กึ่งทางการกับภาษาระดับไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาระดับพิธีการมีโอกาสใช้น้อยและบางคนไม่นิยมใช้ภาษาระดับกันเอง                                                                                      
               ๓.  ภาษาบางระดับใช้แทนที่กันไม่ได้ เช่น  ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ หรือภาษาระดับทางการ ภาษากึ่งทางการจะใช้แทนภาษาระดับไม่เป็นทางการภาษาระดับกันเองไม่ได้      
               ๔.  การใช้ภาษาผิดระดับเป็นผลเสียต่อการสื่อสารถ้อยคำที่ใช้ การใช้ถ้อยคำในภาษาจะต้องแตกต่างกันไปตามระดับต่างๆ  เช่น
            ๔.๑  การใช้คำสรรพนาม   ภาษาระดับพิธีการ ระดับทางการและระดับกึ่งทางการย่อมใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑  และ  สรรพนามบุรุษที่ ๒ต่างกับภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง                                                                                            
           ๔.๒  คำนาม คำสามานยนาม หลายคำใช้คำแตกต่างกันระหว่างระดับทางการ          ขึ้นไปและระดับต่ำกว่าทางการ    เช่น     
โรงหนัง โรงภาพยนตร์                                
ใบขับขี่  - ใบอนุญาตขับรถ                 
ใบรับรอง  -  หนังสือรับรอง                            
รถเมล์ รถประจำทาง           
แสตมป์  - ดวงตราไปรษณียากร                     
งานแต่งงาน  - งานมงคลสมรส            
            ๔.๓  คำวิสามานยนามในภาษาระดับทางการขึ้นไปต้องใช้ชื่อเต็ม 
คำลักษณะนามในภาษาระดับทางการขึ้นไปต้องใช้ให้ถูกต้องตามแบบแผนพิเศษ
            ๔.๔  คำกริยา ใช้ต่างกันในระดับต่างๆ เช่น กริยา ตายใช้ต่างกันตามฐานะของบุคคลและโอกาส คือ     เสีย                                          สิ้น                                           ถึงแก่กรรม                                          
                     ถึงแก่อนิจกรรม                       ถึงแก่อสัญกรรม                      สิ้นชีพตักษัย                             
                      สิ้นพระชนม์                            สวรรคต                                  มรณภาพ         
กริยาบางคำใช้ต่างกันระหว่างระดับทางการขึ้นไปกับระดับต่ำกว่าทางการ เช่น                  
ทิ้งจดหมาย  -  สิ่งจดหมายทางไปรษณีย์                                                                     
เผาศพ  - ฌาปนกิจศพ                                                                                      
ออกลูก คลอดบุตร                                                                                                       
รดน้ำแต่งงาน  -  หลั่งน้ำพระพุทธมนต์                                                            
แทงเรื่อง  - ผ่านหนังสือไปตามลำดับขึ้นโดยเขียนข้อความและชื่อกำกับไว้            
            ๔.๕คำวิเศษณ์ ภาษาระดับทางการขึ้นไปไม่นิยมใช้คำวิเศษณ์บอกลักษณะและวิเศษณ์บอกปริมาณ เช่น  เปรี้ยวจี๊ด ขมปี๋ อ้วนฉุ ยิ้มแฉ่ง ยุ่งจัง จะมีใช้บ้างบางคำ เช่น มาก  หรือ  จัด                                                                                                                              
            ๔.๖คำชนิดอื่นๆเช่น คำบุพบท คำสันธาน และคำสรรพนามที่เชื่อมความใช้ร่วมกันทุกระดับภาษา คำลงท้ายประโยค คะ ครับ ซิ นะ เถอะ ใช้เฉพาะในระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง คำที่ใช้แตกต่างกันระหว่างระดับกึ่งทางการลงมาระดับอื่น   
เช่น
ระดับกึ่งทางการ                                                  ระดับอื่น
            ยังงั้น                                                               อย่างนั้น
            ยังงี้                                                                  อย่างนี้
            ยังไง                                                                อย่างไร
ตัวอย่างเปรียบเทียบภาษาระดับทางการ และภาษาระดับเป็นทางการและระดับกันเอง

ภาษาระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเอง               ภาษาระดับทางการ                            
พ่อแม่                                                                        บิดา มารดา                              
บัสเลน                                                                       ช่องเดินรถประจำทาง
หมู                                                                              สุกร                                         
เวียนหัว                                                                      เวียนศีรษะ                               
อ้วก                                                                            อาเจียน                                    
ตีตรา                                                                          ประทับตรา                             
กินเหล้า                                                                      ดื่มสุรา                                     
ไม่ดูตามม้าตาเรือ                                                       ไม่รอบคอบ                             
ไม่รู้เรื่องราว                                                               ไม่ทราบข้อเท็จจริง            
ซ้ำๆซากๆ                                                                   ซ้ำซาก                         
น้อยอกน้อยใจ                                                            น้อยใจ                                     
ติดอกติดใจ                                                                 ติดใจ                                       
มีความต้องการ                                                           มีความประสงค์                      
รับใช้เต็มที่                                                                  บริการเต็มที่                
บอกให้รู้                                                                      เรียนให้ทราบ                           
พูดโกหก                                                                     กล่าวเท็จ                     
เรื่องอีสาน                                                                   กรณีอีสาน                               
ช่วยเหลือ                                                                     อนุเคราะห์                   
หมา                                                                             สุนัข
ควาย                                                                            กระบือ                                                
พระ ๙ องค์                                                                  พระ  ๙  รูป                  
เยอะแยะ                                                                      มาก


                                                                                

ประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร


ประโยค คือ คำหลาย ๆ คำ หรือวลีที่นำมาเรียงต่อกันอย่างเป็นระเบียบให้แต่ลำคำมีความสัมพันธ์กัน มีใจความสมบูรณ์ ซึ่งแสดงให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร
ในสื่อการเรียนรู้นี้ เราจะมาทำความรู้จักกับประโยคให้มากขึ้น โดยมีเนื้อหาดังนี้
ประโยคหนึ่ง ๆ จะต้องมีภาคประธานและภาคแสดงเป็นหลัก และอาจมีคำขยายส่วนต่าง ๆ ได้ ดังแผนโครงสร้างต่อไปนี้

๑)ภาคประธาน
               ภาคประธานในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ ผู้แสดง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของประโยค ภาคประธานนี้อาจมีบทขยายซึ่งเป็นคำหรือกลุ่มคำมาปาระกอบ เพื่อทำให้มีใจความชัดเจนยิ่งขึ้น
๒)ภาคแสดง
               ภาคแสดงในประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่ประกอบไปด้วยบทกริยา บทกรรม และส่วนเติมเต็ม บทกริยาทำหน้าที่เป็นตัวกระทำหรือตัวแสดงของประธาน ส่วนบทกรรมทำหน้าที่เป็นผู้ถูกกระทำ และส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมใจความของประโยคให้สมบูรณ์ คือทำหน้าที่คล้ายบทกรรม แต่ไม่ใช่กรรม เพราะมิได้ถูกกระทำ
ประโยคในภาษาแบ่งเป็น ๓ ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้
๑) ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประธานเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
๒) ประโยคความรวม
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือ สันธาน ทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกรรถประโยค
ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น ๔ ประเภท ดังนี้
๒.๑) ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ
ตัวอย่าง
ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์
ทั้งทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม
ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็มาช่วยพ่อค้าขาย
สันธานที่ใช้ใน ๔ ประโยค ได้แก่ และ ทั้ง และ, แล้วก็,พอ แล้วก็
หมายเหตุ : คำ แล้วเป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง
๒.๒) ประโยคที่มีความแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือ แตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน
ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ
เขาคิดว่าเขาทำได้ แต่แล้ว เขาก็พลาด
เขาต้องการทำงานนี้มาก หากแต่ สุขภาพของเขาไม่อำนวย
๒.๓) ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง
ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง
คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล
เธอควรจะไปงานนี้ หรือมิฉะนั้น ก็ส่งใครไปแทน
เขาจะมาเอง หรือว่า เขาจะให้คนอื่นมา
๒.๔) ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก ๒ ประโยค ประโยคแรก เป็นเหตุ ประโยค หลัง เป็น ผล
ตัวอย่าง
เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขาจึง ประสบความสำเร็จ
คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ
คนมักง่ายชอบทิ้งขยะ บ้านเมือง จึง สกปรกเต็มไปด้วยมลพิษ
การจราจรในกรุงเทพฯ ติดขัดมาก ฉัน จึง ไม่ค่อยอยากออกจากบ้าน
ข้อสังเกต
๑) สันธานเป็นคำเชื่อมที่จำเป็นต้องมีในประโยคความรวม และจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อความในประโยค ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สันธานเป็นเครื่องกำหนดหรือชี้บ่งว่าประโยคนั้นมีใจความแบบใด
๒) สันธานบางคำประกอบด้วยคำสองคำ หรือสามคำเรียงอยู่ห่างกัน เช่น ฉะนั้น จึง, ทั้ง และ, แต่ ก็ สันธานเช่นนี้เรียกว่า สันธานคาบมักจะมีคำอื่นมาคั่นกลางอยู่จึงต้องสังเกตให้ดี
๓) ประโยคเล็กที่เป็นประโยคความเดียวนั้น เมื่อแยกออกจากประโยคความรวมแล้ว ก็ยังสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจได้
๓) ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญเป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิทเรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี ๓ ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้

            ๓.๑) ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามมานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือ บทกรรม หรือ ส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อม หรือคำเชื่อม
§  ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
คนทำดีย่อมได้รับผลดี
คนย่อมได้รับผลดี      :      ประโยคหลัก
คนทำดี                 :      ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทประธาน
        ครูดุนักเรียนไม่ทำการบ้าน
ครูดุนักเรียน                   :     ประโยคหลัก
นักเรียนไม่ทำการบ้าน   :      ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกรรม
สุนัขเห่ามักเป็นสุนัขไม่กัด
สุนัขเป็นสุนัขไม่กัด    :      ประโยคหลัก
สุนัขเห่า               :      ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
            ๓.๒) ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติมเต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
§  ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย
คนที่ประพฤติดีย่อมมีความเจริญในชีวิต
ที่ประพฤติดี ขยายประธาน  คน
แยกประโยค  ที่        =        คนย่อมมีความเจริญในชีวิต        :        ประโยคหลัก
                                    =        (คน) ประพฤติดี                                :        ประโยคย่อย
ฉันอาศัยบ้านซึ่งอยู่บนภูเขา
ซึ่งอยู่บนภูเขา ขยายกรรม  บ้าน
แยกประโยค  ซึ่ง     =        ฉันอาศัยบ้าน                                 :        ประโยคหลัก
                                   =        (บ้าน) อยู่บนภูเขา                         :        ประโยคย่อย
พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ เป็นสุภาษิตอันมีค่ายิ่ง
อันมีค่ายิ่ง ขยายส่วนเติมเต็ม  เป็น
แยกประโยค  อัน     =        พระบรมราโชวาทในรัชกาลที่ ๕ เป็นสุภาษิต        :        ประโยคหลัก
                                    =        (สุภาษิต) อันมีค่ายิ่ง                                                :        ประโยค ย่อย
๓.๓) ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือ บทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
§  ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์
เขาเรียนเก่งเพราะเขาตั้งใจเรียน
แยกประโยค  เพราะ         =        เขาเรียนเก่ง          :        ประโยคหลัก
                                              =        (เขา) ตั้งใจเรียน  :        ประโยคย่อยขยายกริยา
§  คนงานทำงานหนักจนล้มเจ็บไปหลายวัน
แยกประโยค  จน            =        คนงานทำงานหนัก                   :        ประโยคหลัก
                                           =        (คนงาน) ล้มเจ็บไปหลายวัน    :        ประโยคย่อย (ขยายกริยาและวิเศษณ์ ทำงานหนัก)
ครูรักศิษย์เหมือนแม่รักลูก
แยกประโยค  เหมือน =        ครูรักศิษย์        :        ประโยคหลัก
                                       =        แม่รักลูก           :        ประโยคย่อย (ขยายส่วนเติมเต็มของกริยาเหมือน