วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะการสังเกตคำภาษาจีน


ลักษณะการสังเกตคำภาษาจีน
ภาษาจีน   ภาษาจีนเข้าสู่ประเทศไทยโดยการติดต่อค้าขาย  ลักษณะภาษาจีนและภาษาไทยมีความคล้ายคลึงกัน   เพราะเป็นภาษาคำโดดและมีเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย  โดยมากเป็นคำนามที่เป็นเรื่องของอาหารและเครื่องใช้    ความสำคัญของภาษาจีนที่เข้ามาในประเทศไทยทำให้ภาษาไทยมีคำใช้มากขึ้น    
ลักษณะภาษาจีน
           ภาษาจีนมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาก คือ เป็นภาษาคำโดดและมีเสียงวรรณยุกต์ใช้
เช่นเดียวกัน g มื่อนำคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยซึ่งมีวรรณยุกต์และสระประสมใช้จึงทำให้สามารถ
ออกเสียงวรรณยุกต์และสระตามภาษาจีนได้อย่างง่ายดาย คำภาษาจีนยังมีคำที่บอกเพศในตัวเช่นเดียว
กับภาษาไทยอีกด้วย เช่น เฮีย(พี่ชาย), ซ้อ(พี่สะใภ้), เจ๊(พี่สาว), 
           นอกจากนี้การสะกดคำภาษาจีนในภาษาไทยยังใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา
และมีการใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์ด้วยประมวลคำยืมจากภาษาจีนที่ใช้บ่อย

ก๊ก                                พวก, หมู่, เหล่า
กงเต๊ก                           การทำบุญให้ผู้ตายพิธีจีนโดยสวดและเผากระดาษรูปต่างๆ มี บ้าน, รถ, คนใช้ 
ก๋ง                                ปู่
กวยจั๊บ                          ชื่อของกินทำด้วยแป้งข้าวเจ้าหั่นเป็นชิ้นใหญ่
ก๋วยเตี๋ยว                       ชื่อของกินทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้นๆ
กอเอี๊ยะ                         ขี้ผึ้งปิดแผลชนิดหนึ่งแบบจีน
กะหล่ำ                          ชื่อไม้ล้มลุก มีหลายพันธุ์
กังฟู                              ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบจีนเน้นสมาธิ และความแข็งแกร่งว่องไว
ของ ร่างกาย
กุ๊น                                ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่นๆ แต่ต้องใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียง
กุยช่าย                          ชื่อไม้ล้มลุกคล้ายต้นหอม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้
เก๊                                 ปลอมเลียนแบบให้คิดว่าเป็นของแท้ ; ของปลอม
เก๋                                 งามเข้าที
เก๊ก                               วางท่า ; ขับไล่
เกาลัด                           ไม้ต้นขนาดเล็ก เปลือกผลหนา ไม่มีหนาม เมล็ดเกลี้ยง
เกาเหลา                        แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด ไม่ใช่แกงเผ็ดแกงส้ม
เก้าอี้                             ที่นั่งมีขา ยกย้ายได้มีหลายชนิด ลักษณนามว่า ตัว
เกี๊ยว                             ของกินทำด้วยแป้งสาลีเป็นแผ่นห่อหมูสับเป็นต้น
เกี๊ยะ                             เกือกไม้แบบจีน
โก๋                                 ชื่อขนมทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาลทรายอัดใส่พิมพ์รูปต่างๆ
ขาก๊วย                           กางเกงจีนขาสั้น
ขิม                                ชื่อเครื่องดนตรีจีนรูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีกใช้ตี
เข่ง                               ภาชนะสานมีรูปต่างๆ ทำจากไม้ไผ่
ง่วน                              เพลิน, ทำเพลิน, เล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
งิ้ว                                 ละครจีนแบบโบราณ, อุปรากรจีน
จับกัง                            กรรมกร, ผู้ใช้แรงงาน
จับฉ่าย                          ชื่อแกงอย่างจีนใส่ผักหลายชนิด ; ของต่างๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นชุด
เจ แจ ก็ว่า                      อาหารที่ไม่มีของสดของคาวสำหรับผู้ถือศีล,
เจ๊ง
                               ล้มเลิกกิจการเพราะหมดทุน ; สิ้นสุดเลิกกันไป
เจ๊า                               หายกัน(ภาษาการพนัน)
เจี๊ยบ                             จัด, มาก, ยิ่งนัก
โจ๊ก                               ข้าวต้มที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ
ฉำฉา                            ต้นก้ามปูไม้เนื้ออ่อนพวกไม้สน
เฉาก๊วย                         ชื่อขนมคล้ายวุ้นสีดำกินกับน้ำหวาน
แฉ                                แบ, ตีแผ่, เปิดเผย
ชีช้ำ                              เศร้าโศก, เสียใจ
ซวย                              เคราะห์ร้าย, อับโชค
ซาลาเปา                       ชื่อขนมของจีนทำด้วยแป้งสาลีเป็นลูกกลมมีไส้ข้างในทั้งหวานและเค็ม
เซียน                             ผู้สำเร็จ, ผู้วิเศษ, ผู้ที่เก่ง ชำนาญทางเฉพาะ
เซียมซี                           ใบทำนายโชคชะตาตามวัด มีเลขเทียบกับเลขบนติ้วที่เสี่ยงได้
ต๋ง                                ชักเอาเงินไว้จากขาไพ่ที่เป็นผู้กินหรือลูกค้าที่แทงถูกในการพนัน
ตะหลิว                          เครื่องมือใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะทำด้วยเหล็กมีด้ามจับ
ตังเก                             ชื่อเรือต่อใช้จับปลาตามชายฝั่งทะเล มีเสากระโดง มีเก๋ง 2 ชั้น
ตังฉ่าย                          ผักดองแห้งแบบจีนใช้ปรุงอาหาร
ตังโอ๋                             ชื่อไม้ล้มลุกใบเล็กหนา กลิ่นหอม กินได้
ตั๋ว                                บัตรบางอย่างแสดงสิทธิของผู้ใช้
ตุน                                การเก็บหรือกันสิ่งใดๆ ไว้กันขาดแคลน หรือ หวังค้ากำไร
ตุ๋น                                การปรุงอาหารโดยเอาใส่ภาชนะวางในภาชนะที่มีน้ำเอาฝาครอบตั้งไฟ
ตุ๊ย                                เอาหมัดกระแทก
เต้าเจี้ยว                        ถั่วเหลืองหมักเกลือ ใช้ปรุงอาหาร
เต้าส่วน                         ขนมหวานทำด้วยแป้งเปียกกวนกับถั่วเขียวที่เอาเปลือกออกราดกะทิ
เต้าหู้                             ถั่วเหลืองโม่เป็นแป้ง ทำเป็นแผ่นๆ ก้อนๆ
เต้าฮวย
                         ขนมหวานทำด้วยน้ำถั่วเหลืองแข็งตัว ปรุงด้วยน้ำขิงต้มน้ำตาล







ลักษณะการสังเกตคำภาษาเขมร


ลักษณะการสังเกตคำภาษาเขมร  
ภาษาเขมร  ภาษาเขมรเข้ามาสู่ประทศไทยโดยทางการค้า  การสงครามการเมืองและวัฒนธรรม  คำที่มาจากภาษาเขมรส่วนใหญ่ที่พบมักใช้ในวรรณกรรม  วรรณคดี  คำราชาศัพท์  และใช้ในชีวิตประจำวัน มีหลักในการสังเกตดังนี้  
๑) คำภาษาเขมรมักไม่มีวรรณยุกต์ 
๒) คำภาษาเขมรมักไม่ประวิสรรชนีย์  
๓) มักใช้  ร  ล  ญ  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กน  
๔) มักใช้  จ  ส  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กด
๕) มักเป็นคำควบกล้ำและอักษรนำ 
๖) คำราชาศัพท์บางคำมาจากภาษาเขมร
๗) คำที่ขึ้นต้นด้วย  บัง บัน บำ บรร  มักมาจากภาษาเขมร  
๘) คำที่ขึ้นต้นด้วย กำ คำ จำ ชำ ดำ  ตำ ทำ มักมาจากภาษาเขมร  
๙) คำภาษาเขมรส่วนใหญ่มักแผลงคำได้ 
ลักษณะคำเขมรในภาษาไทย
           1. คำที่มาจากภาษาเขมรส่วนมากมาจากสะกดด้วย จ ญ ร ล เช่น เผด็จ ,บำเพ็ญ,กำธร,ถกล
ตรัส
           2. ต้องแปลความหมายจึงจะเข้าใจ ใช้มากในบทร้อยกรอง
           3. เมื่อมาใช้ในภาษาไทย ข แผลงกระ เช่น ขจาย-กระจาย,ขโดง -กระโดง
           4. นิยมใช้อักษรนำแบบออกเสียงตัวนำโดยพยางค์ต้นออกเสียง อะ กึ่งเสียง
พยางค์หลังออกเสียงตามสระที่ผสมอยู่ เช่น สนุก ,สนาน, เสด็จ ถนน,เฉลียว
           5. คำเขมรส่วนมากใช้เป็นราชาศัพท์ เช่น เสวย,บรรทม,เสด็จ,โปรด
ประมวลคำยืมจากภาษาเขมรที่ใช้บ่อย
กฏ                                จดไว้เป็นหลักฐาน; ข้อบังคับ

กรง(กฺรง)                       สิ่งที่ทำเป็นซี่ๆ สำหรับขังนก เป็นต้น

กรม(กฺรม)                      ลำดับ, หมวด, หมู่, กอง
กรรไตร(กันไตร)              เครื่องมือสำหรับตัดโดยใช้หนีบ
กรวด(กฺรวด)                   หลั่งน้ำอุทิศส่วนกุศล
กระ                               ชื่อเต่าทะเลหลังเป็นเกร็ดแผ่นโตๆ สีน้ำลายเหลืองปากงุ้ม ขาเป็นพาย 
กระฉูด                          อาการที่ของเหลวพุ่งออกไป 
กระเชอ                          ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก 
กระชับ แนบแน่น            เอาเข้าสะเอว 
กระโดง                         ใบเรือ
กระโถน                         ภาชนะบ้วนน้ำหรือทิ้งของที่ไม่ต้องภารลงไป
กระทรวง(กระ-ซวง)         ส่วนราชการเหนือทบวง, กรม
กระท่อม                        เรือนเล็กทำด้วยไม้หลังคามุงจาก ทำพออยู่ได้
กระบอง                         ไม้สั้นสำหรับใช้ตี
กระบือ                          ควาย
กระเพาะ                       อวัยวะภายในรูปเป็นถุง มีหน้าที่ย่อยอาหาร
กระแส                                      น้ำหรือลมที่ไหล-พัดเรื่อยเป็นแนวไม่ขาดสาย
กังวล                            มีใจพะวงอยู่
กัน                                โกนให้เสมอกัน
กำจัด                            ขับไล่, ปราบปราม
กำเดา                           เลือดที่ออกทางจมูก
กำธร                             สนั่น, หวั่นไหว
กำแพง                          เครื่องกั้นเครื่องล้อมที่ก่อด้วยอิฐ
กำลัง                            แรง ; สิ่งที่ทำให้เกิดอำนาจความเข้มแข็ง
ขจร(ขะจอน)                  ฟุ้งไปในอากาศ                           


ลักษณะของคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย


ลักษณะของคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย
ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย  คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ  เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ  เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลิงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก   โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค  ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
1.      หน่วยเสียงสระ
หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง  คือ  อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ
หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ   ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
2.      หน่วยเสียงพยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง  ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ  ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสองภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ  พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี  
1.      สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
ตัวสะกด คือ  พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์ (ก = ตัวสะกด)
ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น   คำในภาษาบาลี จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้    
แถวที่
1
2
3
4
5
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรค
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
มีหลักสังเกตตัวสะกดดังนี้
1.      พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
2.      ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ  ปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น
3.      ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น  อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คัพภ (ครรภ์)
ง. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น
จ. พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ อาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น
3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น
บาลี
ไทย

บาลี
ไทย
รัฎฐ
รัฐ

อัฎฐิ
อัฐิ
ทิฎฐิ
ทิฐิ

วัฑฒนะ
วัฒนะ
ปุญญ
บุญ

วิชชา
วิชา
สัตต
สัต

เวชช
เวช
กิจจ
กิจ

เขตต
เขต
นิสสิต
นิสิต

นิสสัย
นิสัย
ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์ กิจจะลักษณะ เป็นต้น
วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้
1.      พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัว คือ ศ,
ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น   ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ
2.      ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน   ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้ ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น
3.      สังเกตจากสระ   สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา
ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น
4.      สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น จักร อัคร บุตร สตรี ศาสตร์ อาทิตย์ จันทร์ เป็นต้น
5.      สังเกตจากคำที่มีคำว่า เคราะห์มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น
6.      สังเกตจากคำที่มี  อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
7.      สังเกตจากคำที่มี รร อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน  ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้
1. ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน  เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกัน เรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต  เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า  เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
กมฺม
กรฺม
กรรม
จกฺก
จกฺร
จักร
2. ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
ครุฬ
ครุฑ
ครุฑ
โสตฺถิ
สฺวสฺติ
สวัสดี
3. คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก  ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
ขนฺติ
กฺษานฺติ
ขันติ
ปจฺจย
ปฺรตฺย
ปัจจัย
4. รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อย แต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
กณฺหา
กฺฤษฺณา
กัณหา, กฤษณา
ขตฺติย
กฺษตฺริย
ขัตติยะ, กษัตริย์
5. คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป   แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
ความหมาย
กิริยา
กฺริยา
กิริยา
อาการของคน


กริยา
ชนิดของคำ
โทส
เทฺวษ
โทสะ
ความโกรธ


เทวษ
ความเศร้าโศก

หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย

ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี สันสกฤต

ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤต
1. สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ
1. สระมี 14 ตัว  เพิ่มจากบาลี 6 ตัว  คือ    ฤๅ    ฦๅ  ไอ  เอา  (แสดงว่าคำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด)
2. มีพยัญชนะ  33 ตัว  (พยัญชนะวรรค)
2. มีพยัญชนะ 35 ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี 2 ตัว  คือ  ศ ษ  (แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต  *ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้)
3. มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา 
อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น
3. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ 
อัธยาศัย  เป็นต้น
4. นิยมใช้    เช่น  กีฬา  จุฬา  ครุฬ  เป็นต้น  (จำว่า กีฬา-บาลี)
4. นิยมใช้    เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  (จำว่า  กรีฑา-สันสกฤต)
5. ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น 
ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  เปม  กิริยา  เป็นต้น
5. นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา  เป็นต้น
6. นิยมใช้  "ริ"  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น
6. นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ
ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร
7.  นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรคฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์
หรือ    นำหน้า ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา
7.นิยม  "เคราะห์"  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  อนุเคราะห์ 
 เป็นต้น

เรื่องน่ารู้
1.      ถ้าพยัญชนะ "ส" นำหน้า วรรค ตะ   คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  สถาพร  สถาน  สถิต  เป็นต้น
2.      พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้  มี  5  ตัว  คือ            เช่น  อัยยิกา  คุยห  มัลลิกา  กัลยาณ  ชิวหา  อาสาฬห  ภัสตา  มัสสุ  เป็นต้น
3.      พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี  แต่มีตัวสะกดเพิ่ม  อีก 2 ตัว  คือ  ศ ษ เช่น  ราษฎร  ทฤษฎี  พฤศจิกายน  เป็นต้น
ข้อควรจำ  ถ้าคำใดมีตัวอักษรซ้ำกัน  เป็นคำภาษาบาลีแน่นอน  เช่น  ปัญญา อัคคี นิพพาน เมตตา บัลลังก์ ฯลฯ